ยินดีต้อนรับ กรุณา สมัครสมาชิก หรือเข้าสู่ระบบ

Home » webboard » สุขภาพ และ ธรรมมะ
เข้าชม : 818

ภาวะตัวเย็นเกิน หนาวใน หนาวเข้ากระดูก ธาตุไฟหย่อน

โพสต์เมื่อ: วันศุกร์ 22 มีนาคม 2562  09:38 น.

อาการของภาวะร่างกายไม่สมดุลแบบเย็นเกิน (ธาตุไฟหย่อน)
 

จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจมีอาการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีหลายอาการร่วมกันก็ได้ ดังนี้

 

ปวดแบบเย็น ๆ มึน ตื้อ ๆ ศีรษะ 
มือเท้าเย็น แขนขาเย็น ตัวเย็น หน้าซีด (ยกเว้นที่มีอาการมือเท้าเย็นแต่ส่วนอื่นของร่างกายกลับมีอาการของภาวะร้อนเกิน ให้ทาขี้ผึ้งหรือน้ำมันฤทธิ์ร้อนที่มือเท้าที่เย็นก่อน)
เส้นเลือดที่ท้องแขน หน้าแข้ง หดตัวเล็ก ทำให้รู้สึกเหมือนเลือดไม่เดินบริเวณ แขนท่อนล่าง และขา
คอมีเสมหะมากแต่ไม่เหนียวข้น อาจมีอาการไอด้วย เป็นหวัดน้ำมูกใส แต่ไม่เจ็บคอ
ในบางครั้ง เป็นตะคริว (จากภาวะเย็น)
นิ้วล็อค กำมือไม่ค่อยลง (ส่วนถ้าเป็นกลุ่มร้อนเกิน จะมีอาการนิ้วล็อคแบบกำมือแล้วแบมือไม่ค่อยออก)
ท้องอืด จุกเสียด แน่น เป็นประจำ ถ้ากินสมุนไพรเผ็ดร้อน ก็จะทุเลาอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก แต่ไม่ร้อน
โลหิตจาง หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ แต่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแทรก ไม่ปวดหัวตุ๊บ ๆ ไม่ปวดตา ไม่แสบตา (ถ้าเกิดจากภาวะร้อนเกินมักมีอาการหน้าแดง บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวร่วมด้วย)


อุจจาระเหลว สีอ่อน ถ่ายกระปิดกระปอยเหมือนถ่ายไม่สุด บางครั้งจะมีท้องผูกแทรก ซึ่งเกิดจากภาวะเย็นถึงที่สุดแล้วตีกลับเป็นร้อน

ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=aoodpalmistry&month=13-08-2009&group=9&gblog=2


-----------------------------------------------

นี่คือสัญญาณบอกโรค! อันตรายจากอาการ "หนาวใน" ที่คุณไม่ควรมองข้าม

เคยสังเกตไหมทั้งที่อากาศก็แสนจะร้อน แต่ทำไมเราถึงเป็นคนที่ขี้หนาวอยู่คนเดียวตลอดเวลา ซึ่งอาการนี้ไม่เป็นสิ่งที่คุณมองข้ามเป็นอันขาด เพราะเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกความผิดปกติของร่ายกายได้หลายโรด โดยเฉพาะผู้หญิง หรือคุณแม่หลังคลอด มักจะเกิดอาการนี้ได้มากกว่ากว่าเพศชายเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเรามีอาการนี้บ่อยจะเป็นบอกสาเหตุของโรคดังต่อไปนี้

 

อาการเริ่มต้นของอาการหนาวในที่เราควรสังเกต

จะมีอาการหนาวสั่นสะท้านเข้ากระดูก มือเท้าเย็น ปากเขียว มือเขียว เหมือนเลือดไหลเวียนไม่ดี และเมื่อมีอาการหนาวในเป็นประจำจะทำให้เกิดอาการปวดหลังชาๆ ขัดข้อสะโพก มีจ้ำเขียวตามร่างกายได้ง่าย เป็นไข้ทับระดูทุกครั้งที่มีประจำเดือน มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว

1. รูปร่างผอมบางเกินไป

คนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอจนทำให้รู้สึกหนาวง่าย อีกอย่างเมื่อเราผอมเพราะไม่ค่อยได้กินอาหาร ก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญ จนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด ดังนั้นคนที่ตัวผอมบางจึงมักจะรู้สึกหนาวง่ายหรือหนาวตลอดเวลา


2. ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

อาการหนาวเป็นพักๆ รวมทั้งผมเริ่มร่วงและบาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเข้าข่ายภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จนส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย


3. ขาดธาตุเหล็ก

เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง นำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกแขนงในร่างกาย ดังนั้นหากขาดธาตุเหล็กไป กระบวนการดังกล่าวก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความอบอุ่นในร่างกายลดน้อยลง


4. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

อาการมือเย็นเท้าเย็นบ่อยๆ แต่ร่างกายโดยรวมไม่ได้ผิดปกติอะไร การวินิจฉัยจากแพทย์ อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้สะดวกไปทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจจะมีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ ที่อาจขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังมือและเท้าได้


5. โรคเรย์นอยด์ (Raynaud Disease)

เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดบริเวณมือตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ดี ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วมือ ร่วมกับอาการนิ้วมือนิ้วเท้าเย็นตามมาด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษา
 

6. พักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้สารเคมีในสมองรวมไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติได้ ซึ่งก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง รวมทั้งอาการหนาวง่ายก็เป็นผลพวงที่ตามมาด้วยเช่นกัน


7. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า 60% และยังมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ นักโภชนาการให้ข้อมูลว่าร่างกายที่ไม่ได้รับน้ำสะอาดเพียงพออาจเกิดได้ทั้งภาวะอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัด เนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายปรวนแปร รวมไปถึงเมื่อขาดน้ำ ระบบเผาผลาญก็ทำงานไม่สะดวกด้วย
 

8. ขาดวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญพอๆ กับธาตุเหล็กตรงที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 12 ที่พอเพียงอาจทำให้หลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเมื่อการไหลเวียนของเลือดติดขัด ก็จะรู้สึกหนาวง่ายบวกกับมีอาการเหน็บชาบ่อยๆ ด้วย


9. โรคเบาหวาน

อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้มือและเท้าของคุณไวต่อสิ่งเร้าและการสัมผัส จนอาจทำให้รู้สึกหนาวเย็น ณ บริเวณนี้ได้ อีกทั้งปลายประสาทยังจะส่งสารบางอย่างไปยังสมองในส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้รู้สึกถึงความหนาวเย็นได้


10. กล้ามเนื้ออ่อนแอเกินไป

แพทย์หญิง Margarita Rohr แห่ง NYU Langone Medical Center นิวยอร์ก บอกไว้ว่า กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยคงอุณหภูมิร่างกายของเราให้สมดุล การมีมวลกล้ามเนื้อมาก หนาแน่นและแข็งแรง จะช่วยให้ระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไปในตัว และช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

แนวทางคือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพดีเสมอ 


1. ระวัง ไม่ให้เสียสมดุลร่างกายมากเกินไป บ่อยซ้ำๆ เลี่ยงการดื่มทานอาหารเครื่องดื่มที่มีพลังเย็นมาก หรือร้อนมาก ในปริมาณมาก และควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน 


2. รักษาปรับสมดุลร่างกายได้โดย บำรุงร่างกายด้วยอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกทานไขมันดีจากพืช วิตามินบี12 ก็จำเป็น และหากคุณมีภาวะเลือดจาง ต้องเน้นอาหารประเภทธาตุเหล็กสูง เลือกทานผลไม้ที่มีทั้งความชุ่มเย็นและความเผ็ดร้อน เช่นการทานสมุนไพรช่วย เช่น บัวบก พริกไทย 


3. ควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ


4. หากเกิดอาการหนาวสั่นที่ผิดปกติ หรือเข้าข่ายอาการของโรคร้าย ควรเข้าพบแพทย์ 

 

ขอบคุณ theasianparent
 

 

s
[ ความเห็นที่ 1]
RE : ภาวะตัวเย็นเกิน หนาวใน หนาวเข้ากระดูก ธาตุไฟหย่อน
โพสต์เมื่อ: วันเสาร์ 6 เมษายน 2562  19:06 น.
อาการเจ็บป่วยตามหลักแพทย์วิถีธรรม (หมอเขียว)
ข้อมูลจาก 
http://fansclubmorkeaw.blogspot.com/p/blog-page_19.html
 
ตามหลักแพทย์วิถีธรรม พบว่า อาการเจ็บป่วยแบ่งได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
(๑)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกิน
(๒)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายเย็นเกิน
(๓)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกินและเย็นเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน
(๔)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก)
(๕)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก)
                

ตัวอย่างอาการของภาวะร้อนเกิน
                 อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะร้อนเกิน ได้แก่ ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปวด บวม แดง ร้อน ตึง แข็ง มึน ชา    แผลพุพอง ผื่น คัน ปัสสาวะเข้มปริมาณน้อย อุจจาระแข็ง กำลังตก ชีพจรเต้นแรง ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด การติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ เป็นต้น
                เมื่อมีภาวะร้อนเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย
                

ตัวอย่างอาการภาวะเย็นเกิน
                 อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะเย็นเกิน ได้แก่ ปากคอชุ่ม ไม่กระหายน้ำ รสของน้ำจืดผิดปกติ ปวด เหี่ยว ซีด เ ย็น ตึง แข็ง มึน ชา ท้องอืด หัวตื้อ มืดเย็น เท้าเย็น หนาวสั่น ปัสสาวะใสปริมาณมาก อุจจาระเหลว กำลังตก ชีพจรเต้นเบา
                ถ้ามีภาวะเย็นเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย
                

ตัวอย่างอาการร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
                 มีไข้สูง ร่วมกับเย็นมือ เย็นเท้าหรือหนาวสั่น, ปวดศีรษะ ตัวร้อนร่วมกับท้องอืด, ในร่างกายมีบางส่วน ปวด บวม แดง ร้อน บางส่วน ปวด เหี่ยว ซีด เย็น เป็นต้น
                วิธีแก้ทั้งภาวะร้อนและเย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น โดยผ่านไฟหรือกดน้ำร้อนใส่หรืออาจผสม สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นสดเท่าที่รู้สึกสบาย
                

กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก)
                   คือ ต้นเหตุจากร้อนแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการเย็นเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น เพราะต้นเหตุเกิดจากร้อน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า             ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๕๙), ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๓) จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าพบว่า การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น
                  

กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก)
                   คือ ต้นเหตุจากเย็นแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการร้อนเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน เพราะต้นเหตุเกิดจากเย็น การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น

-------------------------------------


 

ภาวะร้อนเย็นไม่สมดุล ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค
ข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/sripech/2014/09/25/entry-3

        เช่น มะเร็ง หัวใจ  เบาหวาน ความดัน ไขมัน รวมทั้งโรคติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อต่างๆ การปรับสมดุลร้อนเย็นจะส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ช่วยลดโรคทุกโรค

 

        จากการวิจัยเรื่อง "ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือก" ของทีมวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่นำโดย ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม พบว่าภายใน วัน 70-90 % ของผู้ที่ใช้วิธีการปรับสมดุล"ร้อนเย็น"ตามหลัการแพทย์วิถีธรรม มีสุขภาพดีขึ้น และโรคลดลง 

        80 % ของคนยุคนี้มักจะมีภาวะร้อนเกิน

        อาการหลักของผู้ที่มีภาวะร้อนเกิน......เมื่อกระทบอากาศร้อน อาหารหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนแล้ว รู้สึกไม่สบาย (ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค) เมื่อกระทบอากาศเย็น อาหารหรือสมุนไพรทีีมีฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกสบาย

        อาการเด่น คือ ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำแล้วรู้สึกสดชื่น ปวด บวม แดง ร้อน ตึง แข็ง มึน ชา มีแผลพุพอง ผื่นคัน ปัสสาวะมีปริมาณน้อย และสีเข้ม อุจาจาระแข็ง กำลังตก อ่อนเพลีย หนักตัว ชีพจรเต้นแรง เส้นเลือดขยายตัว ให้ปรับสมดุลด้วย "สูตรเย็น"

 

        5 % ของคนยุคนี้จะมีภาวะเย็นเกิน


       อาการหลักของผู้ที่มีภาวะเย็นเกิน......เมื่อกระทบอากาศเย็น อาหารหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นแล้ว รู้สึกไม่สบาย (ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค) เมื่อกระทบอากาศร้อน อาหารหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนแล้วรู้สึกสบาย

        อาการเด่น ปากคอชุ่ม ไม่กระหายน้ำ รสของน้ำจืดผิดปกติ ปวด เหี่ยว ซีด เย็น ตึง แข็ง มึน ชา ท้องอืด หัวตื้อ มือเย็น เท้าเย็น หนาวสั่น ปัสสาวะใสปริมาณมาก อุจจาระเหลว กำลังตก อ่อนเพลีย หนักตัว ชีพจรเต้นเบา เส้นเลือดหดตัว ให้ปรับสมดุลด้วยสูตรร้อน

 

        15 % ของคนยุคนี้ จะมีทั้งภาวะร้อนเกิน และเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน
 


       อาการหลัก......กระทบร้อนอย่างเดียวก็ไม่สบาย กระทบเย็นอย่างเดียวก็ไม่สบาย (ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค) แต่เมื่อเอาสิ่งทีี่มีฤทธิ์ร้อน และเย็นผสมกันแล้ว จะรู้สึกสบาย

        อาการเด่น อาการไข้สูงแต่หนาวสั่น ปวดศรีษะร่วมกับท้องอืด ตัวร้อนร่วมกับมือเท้าเย็น เป็นต้น ให้ปรับสมดุลด้วยสูตรร้อนผสมกับสูตรเย็น

        สาเหตุร้อน หรือร้อนเย็นพันกันตีกลับเป็นอาการเย็น (เย็นเหลอก)

        เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม (ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค) แต่พอใช่สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่เป็นฤทธิ็เย็น เพราะต้นเหตุเกิดจากร้อน ถ้าใช้ร้อนเย็นผสมกันแล้วรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้ร้อนเย็นผสมกัน แสดงว่าต้นเหตุเกิดจากร้อนเย็นพันกัน

        สาเหตุเย็นหรือร้อนเย็นพันกันตีกลับเป็นอาการร้อน (ร้อนหลอก)

        เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม (ทำให้เกิดโรคได้ทุกโรค) แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน เพราะต้นเหตุเกิดจากเย็น ถ้าใช้ร้อนเย็นผสมกันแล้วรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้ร้อนเย็นผสมกันแสดงว่าต้นเหตุเกิดจากร้อนเย็นพันกัน

 

        การปรับสมดุลให้ปรับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้ร้อนเย็นผสมกัน แสดงว่าต้นเหตุเกิดจากร้อนเย็นผสมกัน

        การปรับสมดุลให้ปรับไปสู่จุดที่รู้สึกสุข สบาย เบากาย มีกำลัง และปรับกลับไปกลับมาตามภาวะร้อนเย็นของผู้นั้น ณ สิ่งแวดล้อมปัจจุบันนั้นๆ

        อาจเลือกทำเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อร่วมกันตามความเหมาะสมของแต่ละคน ข้อใดที่ทำแล้วรู้สึกสุขสบายเบากายมีกำลัง แสดงว่าเหมาะสมกับผุ้นั้น ณ เวลานั้น ควรทำต่อไป

        ส่วนข้อใดที่ทำแล้วรู้สึกไม่สุข ไม่สบายหนักตัวอ่อนเพลีย แสดงว่าไม่เหมาะสมกับผู้นั้น ณ เวลานั้น ควรงดเสีย

 

        คุณลักษณะของสมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหารที่มีฤทธฺิ์ร้อน และฤทธิ์เย็น


ลักษณะที่เป็นฤทธิ์ร้อน......หมายถึง สมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้ว ดื่มน้ำตามจะรู้สึกสดชื่นขึ้น และเพิ่มอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศร้อน ลดอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศเย็น

 ลักษณะที่เป็นฤทธิ์เย็น......หมายถึง สมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้ว ดื่มน้ำตามจะรู้สึกรสของน้ำจืดกว่าปกติ และเพิ่มอาการไม่สบายจาการกระทบอากาศเย็น ลดอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศร้อน

 

........................................แหล่งข้อมูล จากเอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม

                                        บรรณาธิการ นายแพทย์เทวัญ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ทางเลือก

 

สนใจเข้าค่ายสุขภาพ และรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อไปที่

โรงพยาบาลอำนาจเจริญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โทร.045-511-940-8 ต่อ 1071, 1221


s


คุณต้องสมัครสมาชิก ถึงจะโพสกระทู้ได้

ปิดรับสมัครสมาชิกแล้ว