ยินดีต้อนรับ กรุณา สมัครสมาชิก หรือเข้าสู่ระบบ

Home » webboard » สุขภาพ และ ธรรมมะ
เข้าชม : 244

สูตรมหาพิกัดตรีผลา เสมหะสมุนไพร สู้โควิด-19

โพสต์เมื่อ: วันอังคาร 6 กรกฎาคม 2564  12:51 น.

  สูตรมหาพิกัดตรีผลา เสมหะสมุนไพร สู้โควิด-19
   ลูกมะขามป้อม (ศอเสมหะ) หนัก  3 ส่วน หรือ 45 กรัม

   ลูกสมอพิเภก (พัทธปิตตะ) หนัก 2 ส่วน หรือ 30 กรัม
   ลูกสมอไทย (หทัยวาตะ) หนัก 1 ส่วน หรือ 15 กรัม

ข้อมูลจาก ฟ้าทะลายโจร สู้ โควิด19 ได้จริงจากผลงานการวิจัยของไทย l SPRiNG
     พูดถึงฟ้าทะลายโจร นาทีที่ 7.50 (ไม่ควรติดต่อกันเกิน 5 วัน ควรทานเมื่อติดเชื้อโควิด-19 แล้วเท่านั้น)
     พูดถึงกระชายขาว นาทีที่ 11.40
     พูดถึงตรีผลาใน นาทีที่ 16.40
     https://youtu.be/BbBUybWLQYE

-------------------------------------------
ผงตรีผลา 90 กรัม จะบรรจุแคปซูล เบอร์ 0 ขนาด 500 mg. ได้ 220 แคปซูล

-------------------------------------------

การใช้ตรีผลา สามารถใช้สัดส่วนไม่เท่ากันได้ เรียกว่ามหาพิกัดตรีผลา (3)

ตำรับ 1 มหาพิกัดตรีผลา แก้กองปิตตะ (ร้อน) หรือช่วงอากาศร้อน
     ลูกสมอพิเภก (พัทธปิตตะ) หนัก 12 ส่วน หรือ 45 กรัม
     ลูกสมอไทย (หทัยวาตะ) หนัก 8 ส่วน หรือ 30 กรัม
     ลูกมะขามป้อม (ศอเสมหะ) หนัก  4 ส่วน หรือ 15 กรัม

ตำรับ 2 มหาพิกัดตรีผลา แก้กองวาตะ (ฝน) หรือช่วงมีฝนตก
     ลูกสมอไทย หนัก 12 ส่วน หรือ 45 กรัม
     ลูกมะขามป้อม หนัก 8 ส่วน หรือ 30 กรัม
     ลูกสมอพิเภก หนัก 4 ส่วน หรือ 15 กรัม

ตำรับ 3 มหาพิกัดตรีผลา แก้กองเสมหะ (หนาว) หรือช่วงอากาศเย็น
     ลูกมะขามป้อม หนัก 12 ส่วน หรือ 45 กรัม
     ลูกสมอพิเภก หนัก 8 ส่วน หรือ 30 กรัม
     ลูกสมอไทย หนัก  4 ส่วน หรือ 15 กรัม

------------------------------------------

     สูตร 1 มหาพิกัดตรีผลา สูตรช่วยแก้กองปิตตะ แก้ธาตุไฟกำเริบในช่วงฤดูร้อนหรือธาตุร้อนในร่างกาย
     (สมอพิเภก 3 ส่วนใช้แก้ธาตุไฟ / สมอไทย 2 ส่วนช่วยแก้ธาตุลม / มะขามป้อม 1 ส่วนช่วยแก้ธาตุดินและน้ำ)

     สูตร 2 มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้กองวาตะ สำหรับฤดูฝน
     (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)

     สูตร 3 มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้ในกองเสมหะ สำหรับฤดูหนาว
     (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)

     ข้อมูลจาก https://medthai.com/

------------------------------------------------

นพ.สรรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตรีผลาเป็นตำรับยาที่ช่วยดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อน แต่ถ้าจะมุ่งเน้นแก้โรคทางเสมหะ เช่น แก้โรคหวัด บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ จะต้องใช้เป็น ตำรับมหาพิกัดตรีผลา คือ ต้องใช้
     - มะขามป้อม 12 ส่วน หรือใช้ประมาณ 45 กรัม
     - ลูกสมอพิเภก 8 ส่วน หรือประมาณ 30 กรัม
     - ลูกสมอไทย 4 ส่วน หรือประมาณ 15 กรัม
     (น้ำหนักสมุนไพรสามารถปรับได้ตามสัดส่วน) 

ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/content/2020/04/18943

------------------------------------------------

    เพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร

     ส่วนผสมสำหรับการทำน้ำตรีผลา

     1.น้ำสะอาด 3,000 มิลลิลิตร
     2.น้ำผึ้ง 30 มิลลิลิตร
     3.น้ำมะนาว 10 มิลลิลิตร
     4.เกลือ 1/8 ช้อนชา
     5.ผลมะขามป้อมแห้ง 100 กรัม (10 ส่วน)
     6.ผลสมอไทยแห้ง 50 กรัม (5 ส่วน)
     7.ผลสมอพิเภกแห้ง 30 กรัม (3 ส่วน)

----------------------------------------------

 

     อันที่จริง ตรีผลา นั้นไม่ได้เป็นสมุนไพรพันธุ์ใหม่ หรือเป็นของแปลกประหลาดอะไร แต่เป็นเพียงการนำสมุนไพรพื้นบ้าน 3 ชนิดมารวมเข้าด้วยกัน ตามความหมายของคำคือ ตรี หมายถึง สาม และผลา หมายถึง ผล สมุนไพรทั้ง 3 ที่ถูกเลือกมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภกและมะขามป้อม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี แล้วก็เป็นของหาง่ายในบ้านเราอีกด้วย เราอาจนิยามตรีผลาได้อีกแบบก็คือ “ สมุนไพรทรีอินวัน ” นั่นเอง เราลองมาทำความรู้จักสมุนไพรแต่ละชนิดกันดูก่อน

ลูกสมอไทย
     สมอไทยเป็นพืชที่พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร ส่วนสำคัญที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ก็คือส่วนของผล มีลักษณะป้อมๆ คล้ายทรงไข่ ส่วนของเนื้อค่อนข้างหนา รสฝาดเปรี้ยว ผลที่แก่ได้ที่แล้วจะมีสีเขียวอมเหลือง แล้วก็เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อผลนั้นแห้ง องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญอยู่ในกลุ่มของสารแทนนิน ( tannin ) จึงโดดเด่นในเรื่องแก้ปัญหาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แก้ลมจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะเป็นโรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ คลื่นไส้ อาเจียน และอื่นๆ อีกมายมาย แม้ว่าเราจะนิยมใช้ส่วนของผลมากกว่าส่วนอื่น แต่ลำต้น เปลือก ดอก หรือแม้แต่ผลที่ยังอ่อนอยู่ก็สามารถนำมาทำตำรับยาได้ทั้งหมด

ลูกสมอพิเภก
     สมอพิเภกเป็นกลุ่มของไม้ผลัดใบที่มีความสูงเฉลี่ยไม่ต่างจากสมอไทย จุดสังเกตคือบริเวณโคนต้นมักมีรากค้ำยันที่เราเรียกว่า “ พูพอน ” ซึ่งมีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีดำแกมขาว ผลมีลักษณะกลมและอยู่รวมกันเป็นพวงโต หากมองจากที่ไกลๆ ก็ดูคล้ายลำใยอยู่เหมือนกัน เปลือกผลของสมอพิเภกจะต่างจากสมอไทยเล็กน้อย คือมีความแข็งและมีขนที่ละเอียด สามารถทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลดิบจะมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ส่วนผลสุกจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ลดไข้และรักษาโรคภูมิแพ้ได้ สิ่งที่โดดเด่นของสมอพิเภกก็คือมีสารออกฤทธิ์ที่ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้

มะขามป้อม
     มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีค่าวิตามินซีสูงมากชนิดนี้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่พบได้มากในเขตป่าเบญจพรรณ ลักษณะต้นโดยรวมคล้ายต้นมะขามที่ดูโปร่ง ส่วนผลเป็นทรงกลมสีเขียวอ่อน และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ขนาดของผลอยู่ที่ประมาณเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ทานได้ตั้งแต่ผลเริ่มโตเต็มที่ รสชาติออกเปรี้ยวฝาด และมีความรู้สึกหวานตามมา สรรพคุณคือช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้สดชื่นและแก้อาการผิวหนังอักเสบ มีงานวิจัยว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งและแก้พิษจากสารตะกั่วได้

     สมดุลของร่างกายจากธาตุทั้ง 4

     แล้วการปรับสมดุลธาตุมันสำคัญอย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าร่างกายของเราจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งทำงานสอดคล้องเชื่อมโยงกัน และระบบต่างๆ เหล่านี้ ในแนวทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียโบราณ จะแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม 4 ธาตุ ดังนี้

     วาตะ หมายถึง ธาตุลม ว่าตามตรงก็คืออากาศ หน้าที่หลักคือควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากาศก็จัดเป็นธาตุลม เช่น ระบบหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

     ปิตตะ หมายถึง ธาตุไฟ ความร้อนต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการของร่างกายทั้งหมดนั่นคือธาตุไฟ ได้แก่ ระบบเผาผลาญอาหาร อุณหภูมิร่างกาย กระบวนการดูดซึมอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ธาตุไฟก็ยังมีผลต่อสีผิวและแววตาด้วย

     กผะ หมายถึง ธาตุดินและธาตุน้ำ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของร่างกายเลย ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น น้ำเหลือง น้ำเลือด เป็นต้น

     หากองค์ประกอบทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความสมดุลดี จะส่งผลให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่างกายก็จะแข็งแรง แต่เมื่อไรที่มีแม้สักส่วนผิดเพี้ยนไป ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง แล้วกระทบเป็นทอดๆ ไปยังส่วนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อระบบย่อยอาหารไม่ดี เริ่มจากท้องอืดท้องเฟ้อ ก็เชื่อมไปยังระบบขับถ่าย ทำให้ถ่ายไม่สะดวกหรือไม่ถ่าย เชื่อมโยงไปถึงระบบหายใจ ถ้าท้องอืดมากก็หายใจลำบาก เป็นต้น

ตรีผลา เป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีส่วนผสมของสมุนไพร 3 ชนิดคือ สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม สรรพคุณของตรีผลาช่วยปรับสมดุลและล้างพิษในร่างกาย



     ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้หลักจากการใช้ตรีผลา

     เนื่องจากตรีผลากินเพื่อเป็นยาระบายอ่อนๆ จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทางเดินอาหาร รวมทั้งมีแก๊สในลำไส้ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และตะคริว ผลข้างเคียงเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ใช้แต่ละคนบางคนผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นน้อย แต่บางคนที่มีอาการแพ้รุนแรงก็อาจมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน มีผื่นขึ้น ซึ่งจะค่อยๆ หายไปเองในเวลาไม่นาน สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ตรีผลา จะทำให้เลือดประจำเดือนออกมามากกว่าปกติเป็นอันตรายได้เช่นกัน

     ขอบคุณข้อมูลจาก https://amprohealth.com/herb/triphala/




คุณต้องสมัครสมาชิก ถึงจะโพสกระทู้ได้

ปิดรับสมัครสมาชิกแล้ว