ยินดีต้อนรับ กรุณา สมัครสมาชิก หรือเข้าสู่ระบบ

Home » หุ้น BJC
เข้าชม : 235

โบรกฯ ส่อง 4 หุ้นค้าปลีก รับผลกระทบขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากสุด เริ่ม 1 ม.ค. 2563

โพสต์เมื่อ: วันอังคาร 17 ธันวาคม 2562  13:47 น.
โบรกฯ ส่อง 4 หุ้นค้าปลีก รับผลกระทบขึ้นค่าแรงมากสุด
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -9 ธ.ค. 62 10:07 น.

 

บล.เอเซียพลัส เผยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 1.6% กระทบหุ้นกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL ,BJC, MAKRO ,ROBINS อาจจะกระทบมากสุด เพราะมีค่าใช้จ่ายพนักงาน 30% ส่วนรับเหมาฯ - ยานยนต์ - อิเล็กฯ - เกษตร คาดรับผลกระทบจำกัด       
 
   บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า คณะกรรมการการค่าจ้าง มีมติปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 5-6 บาททั่วประเทศ แบ่งเป็นขึ้น 6 บาท จำนวน 9 จังหวัด (ชลบุรี ภูเก็ต กรุงเทพ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี) และอีก 68 จังหวัดขึ้น 5 บาท (ดังตาราง) สำหรับขั้นตอนถัดไป ทางคณะกรรมการการค่าจ้างจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป และคาดว่าจะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ภายในวันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป

   จากเดิมที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินผลกระทบการปรับเพิ่มค่าแรงขั่นต่ำจากที่พรรคการเมืองเคยหาเสียงไว้ มีรายละเอียดกระทบรายอุตสาหกรรมดังนี้

   กลุ่มค้าปลีก  พบว่า โดยเฉลี่ยอุตสาหรรมมีค่าใช้จ่ายพนักงานราว 30% ของ SG&A และ 6% ของยอดขายรวม โดยประเมินหากมีการปรับขึ้นค่าแรงจะกระทบต่อกลุ่มที่มีการใช้แรงงานทักษะทั่วไปสูง อาทิ กลุ่มร้านสะดวกซื้อ (CPALL), ไฮเปอร์มาร์เก็ตและค้าส่งเช่น (BJC, MAKRO) และห้างสรรพสินค้า (ROBINS)

   ขณะที่กลุ่มร้านค้า Specialty Store (HMPRO, COM7 และ BEAUTY) คาดกระทบจำกัด เนื่องจากเน้นไปที่กลุ่มพนักงานที่ต้องมีทักษะการขายสูงกว่า ทำให้มีโครงสร้างค่าแรงที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว และมีรายได้จากค่าคอมมิชชั่น

   อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีตช่วงที่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (เม.ย. 55 และ ม.ค.56) พบว่าแนวโน้มการเติบโตของ SSSG จะปรับตัวดีขึ้น โดย
1) ใน เม.ย.55 ที่มีการปรับขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ+ปริมณฑล พบว่า SSSG เติบโตขึ้นเป็น 8.1% ช่วง 2Q55 – 4Q55 (จาก 6.7% ใน 2Q54 – 4Q54) ขณะที่
2) ในงวด ม.ค.56 หลังปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ ยังเห็น SSSG ที่เติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2556 แม้จะมีเหตุการณ์ไม่สงบ ในช่วง 2H56 กดดัน นอกจากนี้ เมื่อรวมผลบวกจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค คาดช่วยชดเชยผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างในอนาคต

   กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง  โดยเฉลี่ยค่าแรงคิดเป็นสัดส่วนรวม 10-15% ของต้นทุนก่อสร้าง แต่การปรับขึ้นค่าแรงเพียง 1.6% น่าจะทำให้แรงกดดันที่จะมีต่อ Net Profit margin ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2-6% ผ่อนคลายลง  

   นอกจากนี้ในปัจจุบันบริษัทรับเหมาฯ มีการปรับวิธีการทำงานด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้ ลดการใช้แรงงานคน และใช้วิธี Sub contract งานเป็นส่วนๆออกไปให้กับผู้รับเหมาช่วง และในทางปฏิบัติหากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เชื่อว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน

   และบริษัทรับเหมางานภาครัฐจะมีเงินชดเชย จากค่า K ซึ่งมีเงินเฟ้อเป็นองค์ประกอบในการคำนวณ โดยเชื่อว่างานประมูลภาครัฐจำนวนมากที่กำลังจะออกมา น่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมก่อสร้างลดลง ส่งผลต่ออัตรากำไรของงานก่อสร้างใหม่ๆในอนาคตที่จะดีขึ้น เมื่อถัวเฉลี่ยกับงานใน Backlog เดิมที่จะถูกกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง

   กลุ่มยานยนต์  มีค่าใช้จ่ายแรงงานทางตรงราว 5-10% ของยอดขาย เชื่อว่าการปรับขึ้นค่าแรงที่น้อยกว่าคาดก็น่าจะช่วยลดแรงกดดันได้เช่นกัน   

   กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายแรงงานในประเทศ สัดส่วนราว 5-8% ของต้นทุนรวม (บางบริษัทมีแรงงานอยู่ต่างประเทศ อาทิ DELTA - HANA ราว 2% ของต้นทุนรวม)    

   กลุ่มเกษตร-อาหาร มีค่าใช้จ่ายแรงงานในประเทศ ราว 1.5-8% ของต้นทุนรวม  
 
   สรุปคือ ภาพรวมค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยทั่วประเทศ 5.12 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.6% ซึ่งน้อยกว่าที่เคยตลาดกังวลว่าค่าแรงจะถูกปรับขึ้นเป็น 400-425 บาท/วัน  หรือปรับเพิ่มราว  23% จากปัจจุบันอยู่ที่ 316-321 บาท/วัน และส่งผลให้ผลกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการลดน้อยลง


s


คุณต้องสมัครสมาชิก ถึงจะโพสกระทู้ได้

สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ