ยินดีต้อนรับ กรุณา สมัครสมาชิก หรือเข้าสู่ระบบ

Home » หุ้น RBF
เข้าชม : 284

RBF ปรับกลยุทธ์ food clothing ใช้วัตถุดิบที่ถูกลง fragrance หันมาผลิตวัตถุดิบเองแทนการนำเข้า

โพสต์เมื่อ: วันศุกร์ 10 กรกฎาคม 2563  12:12 น.
RBF ดีดทำ All Time High ราคานี้มีอะไรดี?

18 มิถุนายน 2563 

RBF เป็นหุ้นที่ในตอนนี้เรียกว่าร้อนแรงได้เลย เพราะราคาหุ้นไต่ระดับได้ต่อเนื่อง จนล่าสุดทำจุดสูงสุดตลอดกาล(All Time High)ไปแล้ว ซึ่งก็เป็นเพราะอานิสงส์จากการได้เข้าไปคำนวณ SET100 นอกจากนี้ผลประกอบการก็ยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยมาก ทำให้กำไรปีนี้ยังเติบโตได้แรงแตะ 500 ลบ. แต่ราคาหุ้นขึ้นมาจนไม่มีอัพไซด์แล้ว ต้องจับตาการซื้อกิจการในต่างประเทศเพื่อขยายอัพไซด์!
*** RBF ทุบสถิติ All Time High


ราคาหุ้น บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF วันทำการล่าสุด(17มิ.ย.63)ดีดขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันถึง 8.15 บาท ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาล(All Time High)ตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อเดือนต.ค. 62 ซึ่งขณะนั้นมีราคาไอพีโออยู่ที่ 3.30 บาทเท่านั้น


ทั้งนี้ราคาหุ้น RBF ปิดตลาดวันทำการล่าสุดไปที่ 7.80 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ +5.41% ปริมาณหุ้นที่ซื้อขายเพิ่มขึ้น 174.23% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า


สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้น RBF ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในช่วงนี้ คาดว่าเป็นเพราะการถูกเลือกเข้าคำนวณในดัชนี SET100 ซึ่งหุ้นในลักษณะนี้มักจะถูกแรงซื้อเก็งกำไรจากกองทุนที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนี SET100 นั่นเอง


*** ผลประกอบการดี ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19


ทั้งนี้ในแง่ผลประกอบการของ RBF ก็มีแนวโน้มจะทำได้ดีอีกด้วย โดยจะเติบโตแรงถึง 113% ในไตรมาส 2/63 ส่วนกำไรทั้งปี 63 - 64 ยังเติบโตได้ 42% และ 13% ตามลำดับ


บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้ ประเมินว่า กำไรของ RBF ในไตรมาส 2/63 จะทำได้ที่ 128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% YoY จากฐานที่ต่ำเพราะปีก่อนมีรายการพิเศษ แต่จะลดลง 14% QoQ ตามรายได้ที่ปรับตัวลดลง 6.5% QoQ เป็น 755 ล้านบาท เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/63 ก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่ยังเพิ่มขึ้น 8.6% YoY จากเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง


และด้วยอัตรากำไรที่ดีกว่าคาดทำให้เราปรับอัตรากำไรขึ้น 3.1 - 3.6 % จาก 38 - 38.4% เป็น 41.6 - 41.5% สำหรับปี 63 - 64 เพื่อสะท้อนผลของสัดส่วนผลิตภัณฑ์ และอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มแป้งและซอส แต่เราปรับลดรายได้ปี 63 ลง 2.1% เพื่อสะท้อนผลของโควิด-19 และฝุ่นควันเชียงใหม่ รวมการดำเนินงานจากเวียดนามที่ล่าช้า แต่เรายังคงคาดว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้น 42% และ 13% เป็น 500 ล้านบาท และ 563 ล้านบาท สำหรับปี 63 - 64 ตามลำดับ


บล.เคทีบี ยังคงประมาณการกำไรปกติปี 63 ไว้ที่ 511 ล้านบาท (+45% YoY) โดยคาดรายได้เติบโต 12% YoY การการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเป็นการเติบโตในกรอบที่บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 10-12% YoY


*** โบรกฯ ปรับราคาขึ้น แต่ก็ยังไล่ตามไม่ทัน


ทั้งนี้แม้นักวิเคราะห์จะปรับประมาณการและราคาเหมาะสมของ RBF ขึ้นตามแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ราคาหุ้นในกระดานก็ปรับเพิ่มขึ้นแซวหน้าไปได้ตลอดทำให้ราคาหุ้นไม่มีอัพไซด์แล้ว

 

บล. คำแนะนำ ราคาเหมาะสม
เดิม(บาท) ใหม่(บาท)
ทิสโก้ ซื้อ 6.60 7.40
กสิกรไทย ซื้อ 7.20 7.85
เคทีบี ถือ 6.80 -

*** จับตาข่าวซื้อกิจการหนุนอัพไซด์เพิ่ม


RBF ได้ประโยชน์จากการระบาดของโควิด-19 จากความต้องการลดต้นทุนของร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบที่ถูกลง เก็บได้นานขึ้น และที่สำคัญคือ RBF มีโอกาสที่จะทำ M&A ในต่างประเทศโดยเฉพาะธุรกิจที่ขาดเงินสดเพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19


ซึ่งจากการสำรวจพบว่านี่เป็นเพียงประเด็นบวกเดียวที่จะเข้ามาหนุนอัพไซด์ของ RBF ได้ เนื่องจากประเด็นบวกต่างๆที่มีความชัดเจนได้ถูกเก็งกำไรไปหมดแล้ว จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องจับตาให้ดี


ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 RBF เป็นหุ้นที่นักลงทุนไม่ค่อยให้ความสนใจนัก ทำให้ราคาแกว่งตัวไปมาไร้ทิศทางอยู่หลายเดือน แต่หลังจากเกิดโรคระบาด RBF ก็กลับดีดขึ้นมาได้พร้อมข่าวดีที่ออกมาสนับสนุนราคาหุ้นได้เรื่อยๆ แต่ประเด็นที่เหลือพอจะหนุนราคาหุ้นได้อีกก็น่าจะเป็นการซื้อกิจการในต่างประเทศที่งบการเงินอ่อนแอจากโควิด ซึ่งนักลงทุนต้องจับตาประเด็นนี้ให้ดี เพราะหากไม่เกิดขึ้นเท่ากับราคานี้ซื้ออนาคตในปี 64 ไปแล้ว !

-----------------------------


บล.เคทีบี(ประเทศไทย) : RBF แนะนำถือ คงราคาเป้าหมายที่ 6.80 บาท
11/06/2563
ปรับคำแนะนำลงเป็น “ถือ” (เดิม “ซื้อ”) แต่คงราคาเป้าหมายที่ 6.80 บาท อิงวิธี DCF เราปรับคำแนะนำลงเพราะต้องการรอดูพัฒนาการในการขยายตลาด ในขณะเดียวกัน upside จำกัดหลังราคาหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า +55% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้จากการจัด analyst meeting ใน 10/6/20 เรามีมุมมองเป็นกลางเนื่องจากยังไม่มีประเด็นใหม่มา surprise ตลาด โดยผู้บริหารได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง
1) ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อยอดขายใน 2Q20E มีจำกัด
2) GPM จะรักษาการขยายตัวได้ในกรอบ 40-45% (เดิม 38-42%) เนื่องจากมีการปรับลดต้นทุนการผลิต
3) โครงการเพิ่มกำลังการผลิตในต่างประเทศทั้งอินโดนีเซียและเวียนามยังคงเดินหน้าตามแผน คาดทยอย COD ได้ตั้งแต่ 3Q20E เป็นต้นไป ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2020E ที่ 511 ล้านบาท (+45% YoY) โดยคาดรายได้เติบโต 12% YoY การการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเป็นการเติบโตในกรอบ guidance ที่บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 10-12% YoY
  ราคาหุ้น outperform ตลาดมาตลอดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจากธุรกิจหลักได้รับผลกระทบจำกัดจาก COVID-19 อย่างไรก็ตามแม้ COVID-19 จะมีทิศทางที่ดีขึ้นแต่ปัญหาเศรษฐกิจที่ตามมายังคงเป็นสิ่งที่เรากังวลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้เราประเมินตลาดจะรอดูพัฒนาการของการขยายตลาดของบริษัทว่าเป็นอย่างไรซึ่งส่งผลให้ price momentum ชะลอตัวลง

Event: analyst meeting
   COVID-19 กระทบยอดขาย 2Q20E จำกัด ผู้บริหารให้ข้อมูลแนวโน้มยอดขายธุรกิจผลิตวัตถุปรุงแต่งอาหารใน 2Q20E คาดเติบโตได้ปกติ โดยผลกระทบจาก COVID-19 เกิดขึ้นเล็กน้อยในเดือน เม.ย.2020 ทำให้ยอดขายตก แต่ได้รับการชดเชยจากยอดขายที่อั้นไว้และกลับมาในเดือน พ.ค.2020 ในขณะที่ยอดขายเดือน มิ.ย.2020 กลับมาเติบโตได้ปกติ
   GPM รักษาการขยายตัวไว้ได้ ผู้บริหารประเมินระดับ GPM ของธุรกิจผลิตวัตถุปรุงแต่งอาหารอยู่ในกรอบใหม่ที่ 40-45% (จากเดิมระดับ 38-42%) และคาดรักษากรอบใหม่ไว้ได้เนื่องจากเป็นการขยายตัวที่มาจากการปรับโครงสร้างซึ่งมีผลถาวรจากกลุ่มสินค้าหลักมีต้นทุนที่ลดลง 1) สินค้าประเภท food clothing มีการปรับสูตรไปใช้วัตถุดิบที่ถูกลง 2) สินค้าประเภท fragrance หันมาผลิตวัตถุดิบเองแทนการนำเข้า
   การขยายกำลังการผลิตในต่างประเทศเดินหน้าตามแผน โครงการในต่างประเทศปัจจุบันที่อินโดนีเซียกำลังการผลิต 8 ตัน/วัน เปิดดำเนินการแล้วในปลาย 1Q20 ในขณะที่เวียดนามกำลังการผลิต 12 ตัน/วัน เนื่องจาก COVID-19 ทำให้เลื่อนการเปิดออกไปเป็น 3Q20E ส่วนที่ Surabaya phase 2 (อินโดนีเซีย) 15 ตัน/วัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเลือกสถานที่ในนิคมฯคาดก่อสร้างได้ใน 1Q21E

Implication
   มีมุมมองเป็นกลาง ยังไม่มีประเด็นใหม่ เรามีมุมมองเป็นกลางจากการจัด analyst meeting ใน 10/11/20 เนื่องจากยังไม่มีประเด็นใหม่ โดยผลกระทบ COVID-19 จำกัด ในขณะที่ GPM มีแนวโน้มขยายตัวได้หลังพิสูจน์แล้วในผลงาน 1Q20 ทั้งนี้เราประเมิน GPM ปี 2020E ที่ราว 42% ยังอยู่ในกรอบที่บริษัทประเมิน นอกจากนี้การจัดทำโครงการในต่างประเทศยังคงเดินหน้าตามข้อมูลที่ได้แจ้งตลาดไว้ ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2020E ที่ 511 ล้านบาท (+45% YoY)

Valuation/Catalyst/Risk
  ราคาเป้าหมาย 6.80 บาท อิงวิธี DCF (WACC 10.0%, TG 3.0%) ปัจจัยเสี่ยงคือธุรกิจโรงแรมที่เชียงใหม่และชุมพรซึ่งผลประกอบการยังคงขาดทุนและกำลังเผชิญความท้าทายที่มากขึ้นจากแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง

-----------------------------

บล.ทิสโก้ : RBF แนะนำ“ถือ” มูลค่าที่เหมาะสม 7.40 บาท
22/06/2563
RBF : การเติบโตดี แต่ราคาสูงเกิน
ประเด็นจาก TISCO Exclusive Talk

เราได้มีการจัดประชุมกับ RBF เพื่ออัพเดทสถานการณ์ในช่วง 2Q20F เป็นต้นไป โดยผู้บริหารมองว่า การดำเนินธุรกิจจะมีความท้าทายเพิ่มขึ้น แต่ยังคงเป้ารายได้เพิ่มขึ้น 11 – 12% สำหรับปี 2020 เนื่องมาจาก
1) การเพิ่มกำลังการผลิตในอินโดนีเซีย และเวียดนาม
2) การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และ
3) แนวโน้มของธุรกิจขนส่งอาหาร ในขณะที่มีความเสี่ยงคือ การกลับมาระบาดรอบ 2 ของ COVID-19 และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลลบต่อกลุ่มส่งออกโดยรวม
    1.มีโอกาสที่อัตรากำไรจะเพิ่มขึ้นจากต้นทุนของวัตถุดิบ และส่วนผสมของผลิตภัณฑ์, การติดตั้งเครื่องจักรใหม่ที่จะทำให้ต้นทุนลดลงใน 4Q20F
    2.มีเงินสดจากการ IPO เหลืออยู่ราว 500 ล้านบาท คาดจะนำมาใช้ในการทำ M&A ในอนาคต
    3.ปัจจุบันบริษัทมียอดนำเข้าสุทธิราว 100 ล้านบาท ทำให้ได้ประโยชน์จากบาทที่แข็งค่า แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทชอบค่าเงินที่อ่อนมากกว่า เนื่องจากเป็นปัจจัยบวกต่อลูกค้าและยอดขาย
    4.การดำเนินงานของโรงแรมที่กลับมาเปิด แต่มีอัตราการเข้าพักที่ต่ำ และโรงแรมที่เชียงใหม่ยังปิดให้บริการ รอมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นใน 3 – 4 เดือนข้างหน้า และมีแผนที่จะ Down size ในกลุ่มโรงแรมลง

  เราปรับคำแนะนำลงเป็น “ถือ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 7.40 บาท อิง PER ที่ 26.3 เท่าสำหรับปี 2020F มีความเสี่ยงคือ ธุรกิจโรงแรม และการขยายกิจการในต่างประเทศ

-----------------------------

โรงแรมในเครือของ RBF มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรมไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ และ โรงแรมโนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ โดยรายได้จากโรงแรม
กินสัดส่วนรายได้รวมเพียง 3.86% ของรายได้รวมเท่านั้น

-------------------------------

บล.ทิสโก้ : RBF แนะนำ“ซื้อ” มูลค่าที่เหมาะสม 7.40 บาท
11/06/2563
RBF : มีโอกาสในการทำ M&A ท่ามกลาง COVID-19

คาดผลประกอบการ 2Q20F เพิ่มขึ้น YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน
  เราคาดผลประกอบการของ RBF ที่ 128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% YoY จากฐานที่ต่ำ เนื่องจากมีรายการพิเศษในปีก่อน แต่ลดลง 14% QoQ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อสะสมในไตรมาสก่อน โดยเรายังคงชอบการดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขันของ RBF และด้วยการระบาดของ COVID-19 ทำให้ RBF มีโอกาสที่จะทำ M&A ในต่างประเทศ เราแนะนำให้ “ซื้อ” โดยคาดว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้น 26% CAGR ต่อปีสำหรับปี 2020 – 21F

ผลประกอบการลดลง 16% QoQ จากคำสั่งซื้อสะสม
  รายได้ในช่วง Q2 ปรับตัวลดลง 6.5% QoQ เป็น 755 ล้านบาท เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นใน Q1 ก่อนการระบาดของ COVID-19 แต่ยังเพิ่มขึ้น 8.6% YoY จากเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเปิดโรงงานเกล็ดขนมปังที่อินโดนีเซีย ด้านอัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็น 41.9% จากเดิมที่ 40.3% ในช่วง 2Q19 เนื่องจากแผนการประหยัดต้นทุนของโรงงานผลิตกลิ่น และยอดขายที่เพิ่มขึ้น ด้าน SG&A ต่อยอดขายลดลงเป็น 21.2% จากเดิมที่ 26.2% เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษของพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการ IPO และอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 16.9% จากเดิมที่ 8.6% ในช่วง 2Q19

การระบาดของ COVID-19 เป็นโอกาสในการซื้อกิจการในต่างประเทศ
  RBF ได้ประโยชน์จากการระบาดของ COVID-19 จากความต้องการลดต้นทุนของร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบที่ถูกลง และเก็บได้นานขึ้น และทำให้ RBF ที่มีเงินสดสูงมีความได้เปรียบจากธุรกิจอาหารในต่างประเทศที่ขาดเงินสด และสำหรับธุรกิจรายย่อยสัดส่วน 6% ของยอดขายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นได้จากธุรกิจขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ ในการเพิ่มยอดขาย

  เราแนะนำให้ “ซื้อ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 7.40 บาท (อิง PER ที่ 26.3 เท่าสำหรับปี 2020F) โดยมีความเสี่ยงคือ สงครามการค้าและการขยายกิจการในต่างประเทศที่ล่าช้ากว่าคาด

---------------------------------------

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : RBF แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 9.50 บาท
03/07/2563
ผู้นำตลาดวัตถุส่วนผสมในอาหาร...พื้นฐานแกร่ง
เป็นผู้นำธุรกิจการผลิตและจำหน่ายวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร (Food Ingredients) ในประเทศไทย ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และ ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท เช่น อังเคิลบาร์นส์, เบสท์ โอเดอร์ และ super-find เป็นต้น ที่สำคัญสินค้าของบริษัทได้ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าอาหารที่มีความจำเป็นอย่างมากกับแบรนด์สินค้า และมีรสชาติแบบท้องถิ่น จึงเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด อีกทั้งมีทีมงานวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นของตนเอง มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี นอกจากนี้ได้พยายามค้นคิดสูตรใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  คาดการณ์มีอัตราการเติบโตของกำไรที่สดใสในอนาคต คาดว่าค่าเฉลี่ย CAGR ใน 2 ปีข้างหน้าอยู่ในอัตราที่สูงเป็น 30% สืบเนื่องจากยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดีต่อเนื่อง รวมทั้งประสบความสำเร็จในการควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
  มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง คือเป็นเงินสดสุทธิ (Net Cash Position) และทีมผู้บริหารมีความสามารถและประสบการณ์ที่สูง โครงการในต่างประเทศที่จะเสริมการเติบโตในอนาคตคือ
          1) โรงงานเกล็ดขนมปังป่นแห่งใหม่ที่ประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย เริ่มได้ในปีนี้หรือปี 63 และ
          2) การสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ
          3) โรงงานแห่งใหม่ที่เมือง Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย

  เริ่มทำการวิเคราะห์ด้วยคำแนะนำ ซื้อ ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 9.50 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธีส่วนคิดลดกระแสเงินสดสุทธิ (DCF) ประเมินด้วย WACC 8% และ TG ที่ 2.5% เทียบเท่า P/E ปี 64 ที่ 32 เท่า ราคาพื้นฐานยังเสนอส่วนเพิ่มเทียบกับราคาปิดปัจจุบันได้อีก 12%


s


คุณต้องสมัครสมาชิก ถึงจะโพสกระทู้ได้

สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ