เข้าชม :
351
ความคืบหน้า SCGP โครงการขยายกำลังการผลิต Q2-64 |
โพสต์เมื่อ: วันพฤหัสบดี 7 ตุลาคม 2564 18:58 น.
ความคืบหน้าโครงการขยายกำลังการผลิต
ณ สิ้นไตรมำสที่ 2 ปี 2564 SCGP มีโครงการขยายกำลังผลิตที่ดำเนินการขายเชิงพาณิชย์แล้ว 2 โครงการ ในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย และมีโครงการที่ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างทั้งหมดอีก 3 โครงการ ในประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งโครงการทั้งห้าดังกล่าวหากแล้วเสร็จจะสามารถสร้างรายได้ จากการขายประมาณ 11,000 ล้านบาท (คิดจากการดำเนินงานเต็มปี) 1. ประเทศไทย กำรขยำยกำลังกำรผลิตเพิ่มขึ้น 1,838 ล้ำนชิ้นต่อปีคิดเป็น 25% ของกำลัง ผลิตปัจจุบัน เพื่อรองรับควำมต้องกำรบรรจุภัณฑ์อำหำรที่เพิ่มขึน้ จำกประเทศนอกอำเซียน โดยมีรำยละเอียดดังนี้ 1.1 ขยายกำลังการผลิตของบรรจุภัณฑ์อาหารจากกระดาษเพิ่มขึ้น 1,615 ล้านชิ้นต่อปี ที่ โรงงานบ้านโป่ งประเทศไทย และที่โรงงาน Binh Duong ประเทศเวียดนาม โดยคาดว่าจะเริ่ม ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 1.2 ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อธรรมชาติเพิ่มขึ้น 223 ล้านชิ้นต่อปี ที่โรงงาน วังศาลา ประเทศไทย โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 2ของปี 2565 2. ประเทศไทย จังหวัดสมุทรสำคร (Prepack #2) - โครงการขยายการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ แบบอ่อนตัว โดยมีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 53 ล้านตารางเมตรต่อปี คิดเป็น 15% ของก าลังผลิต ปัจจุบัน โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาส ที่ 4 ของปี 2564 3. ประเทศฟิลิปปินส์ เมือง Bulacan (UPPC #3) - โครงการขยายการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ โดย มีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 220,000 ตันต่อปี คิดเป็น 90% ของกำลังผลิตปัจจุบัน โดยใช้เงินลงทุน ประมาณ 5,388 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 4. ประเทศอินโดนีเซีย เมือง Surabaya (Fajar #2) - โครงการขยายการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ (containerboard) และกระดาษกล่องเคลือบขาว (duplex paper) โดยมีก าลังการผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปีคิดเป็น 30% ของกำลังผลิตปัจจุบัน โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 1,735 ล้านบาท ซึ่ง เริ่มดำเนินการขายเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อต้นเดือนเมษายน ปี 2564 5. ประเทศไทย จังหวัดระยอง (Visy Line#7) - โครงการขยายการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบคงรูป โดยมีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 347 ล้านชิ้นต่อปี คิดเป็น 15-20% ของกำลังผลิตในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเริ่ม ดำเนินการขายเชิงพาณิชย์แล้วในเดือนมีนาคม 2564 และอยู่ระหว่างการก่อสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 แนวโน้มในอนำคต ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 คาดว่าสถานการณ์ของโรคระบาด COVID-19 ยังคงเกิดขึ้นในหลายภูมิภาค ส่งผลกระทบให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในบางประเทศ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแพคเกจจิ้งยังคงถือได้ว่าเป็น อุตสาหกรรมที่สำคัญต่อภาคการบริโภคของประชาชนในอาเซียน นอกจากนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทวีปอเมริกา เหนือและยุโรปจะทำให้ภาพรวมการส่งออกยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในขณะที่ค่าระวางเรือ รวมถึงต้นทุนพลังงาน และต้นทุนด้านวัตถุดิบยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม SCGP ได้ดำเนินการขยายธุรกิจตามเป้าหมาย ทั้งการเติบโตจากภายใน (Organic growth) และการเร่งขยายธุรกิจโดยการเติบโตจากภายนอก (Inorganic growth) โดยบริษัทยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงการคำนึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)และมุ่งเน้นในการสร้าง ประโยชน์จากการผนึกพลังกับพันธมิตรทางธุรกิจและขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในสภาวะที่มีความ ไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาด COVID-19 บริษัทมีการบริหารงานแบบยืดหยุ่น เพื่อ ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้ new normalอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการไตรมาสที่ 2/2564 (สอบทานแล้ว) SCGP 10 ส.ค. 2564 12:33:00 https://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=16285519853541&language=th&country=TH |
|