ยินดีต้อนรับ กรุณา สมัครสมาชิก หรือเข้าสู่ระบบ

Home » หุ้น BEM
เข้าชม : 292

บอร์ด กทพ.ไฟเขียวต่อสัมปทาน BEM 40 ปี แลกค่าโง่ทางด่วน 1.37 แสนลบ.

โพสต์เมื่อ: วันศุกร์ 21 ธันวาคม 2561  00:01 น.
บอร์ด กทพ.ไฟเขียวต่อสัมปทาน BEM 40 ปี แลกค่าโง่ทางด่วน 1.37 แสนลบ.

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -21 ธ.ค. 61 9:18: น.

  บอร์ด กทพ.ไฟเขียวเจรจา BEM ขยายสัมปทานทางด่วน 40 ปี แลกจ่ายค่าโง่ 1.37 แสนลบ. พร้อมให้สิทธิสร้างทางด่วน 2 ชั้น ช่วงประชาชื่น-อโศก แก้ปัญหารถติด

  นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการวานนี้ (20 ธ.ค.61) ได้เห็นชอบให้ กทพ. เจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทและคดีที่กทพ.ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวนมากในหลายกรณี โดยได้ยื่นขอเสนอขยายสัมปทานทางพิเศษ (ทางด่วน) อุดรรัถยา และทางด่วนศรีรัช โครงข่ายนอกเมือง (ทางด่วนขั้นที่ 2) ช่วง C และ D ทดแทนการจ่ายค่าเสียหาย วงเงิน 1.37 แสนล้านบาท ตามคำสั่งศาล คาดว่าจะขยายเวลาสัมปทานให้ 30-40 ปี รวมถึงข้อเสนออื่น เช่น การก่อสร้างทางด่วน 2 ชั้น ช่วงประชาชื่น-อโศก วงเงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร คาดว่าจะได้ข้อสรุปการเจรจา เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) พิจารณาภายในสัปดาห์หน้า ก่อน เสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป

  ทั้งนี้ กทพ. วาง 3 แนวทาง เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทกับ BEM และการเจรจาเป็นหนึ่งแนวในทางแก้ปัญหา และ ครม. มีมติ ให้ กทพ. เจรจาเพื่อขอลดหนี้กับเอกชนก่อน เพราะมองมีโอกาสปลดหนี้ได้ และไม่เป็นภาระกับรัฐบาล ขณะที่ประชาชนจะมีทางด่วนเพิ่มขึ้นด้วย

  " ถ้า กทพ. หมดภาระหนี้ได้ ถือว่าปิดฉากคดีค่าโง่ทางด่วนที่เป็นมหากาพย์มายาวนานได้” นายสุรงค์

  ปัจจุบัน กทพ. มีข้อพิพาทกับ BEM โดยคดีความมีผลสรุปแล้ว 1 คดี กทพ.ต้องชดใช้ค่าเสียหาย 4 พันล้านบาท ภายในวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ กทพ.อยู่ระหว่างขอชะลอการชดใช้ค่าเสียหาย จนกว่าการเจรจาจะได้ข้อสรุป นอกจากนี้ยังมีคดีฟ้องและที่อยู่ในขั้นของ อนุญาโตตุลาการอีก 80,000 ล้านบาท และหากรวมคดีอื่นอีก จะมีมูลค่าฟ้องร้องรวมกว่า 137,000 ล้านบาท

----------------------------------------------------------------------------

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส 

บอร์ดกทพ.ไฟเขียวขยายสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ออกไป 37 ปี

  # บอร์ดกทพ.ให้ขยายอายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ที่จะสิ้นสุด 27 ก.พ.2563 ออกไป 37 ปี เพื่อลดหนี้ข้อพิพาทที่มีต่อกันระหว่างกทพ.กับ BEM (มูลค่าประมาณ 1.3 แสนล้านบาท) และมีการปรับสูตรการขึ้นค่าผ่านทางใหม่ โดยให้ปรับขึ้นทุกๆ 10 ปี ในอัตรา 10 บาท และแบ่งรายได้ค่าผ่านทางให้กทพ. 60% ตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนั้น BEM จะร่วมลงทุน 4 หมื่นล้านบาทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและแก้ปัญหาจราจร (มาจากกระแสเงินสดบริษัท+กู้ยืม+หุ้นกู้) ทั้งนี้จะเสนอข้อตกลงให้กับสคร.และบอร์ด PPP พิจารณาต่อเพราะเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชนจากนั้นจะเสนอครม.พิจารณาต่อไป

  # ความเห็นเชิงกลยุทธ์ DBSVTH : นับว่าผลการเจรจาออกมาดีที่เราคาดการณ์ไว้และเป็นบวกกับ BEM ทั้งนี้สัมปทานที่ได้ต่ออายุคิดเป็น 50-60% ของรายได้ทั้งหมดบริษัท ข้อดี คือ บริษัทมีความมั่นคงมากขึ้นหลังได้สัมปทานยาวไปอีก 37 ปี การปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางก็ชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องไปอิงกับอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีแนวโน้มอยู่ในอัตราต่ำทำให้ปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางไม่ง่ายนัก ไม่ต้องใช้เงินลงทุนใหม่จำนวนมาก รวมทั้งการได้ยืดอายุสัมปทานทำให้การตัดค่าเสื่อมทางบัญชีจะลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 62 จะเติบโตสูงขึ้น 

--------------------------------------------------------------------------------------

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง

3 ปีที่ผ่านมา ตลาดกังวลกับ 2 ประเด็นหลักอย่างการเจรจาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ที่จะหมดอายุในปี 2563 จากนี้เรามองว่าความกังวลจะถูกผ่อนคลายพลิกกลับมาเป็น Upside ต่อบริษัท และจะส่งผลให้ BEM ก้าวขึ้นเป็นผู้นำการถือสัมปทานบริหารโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่นทางด่วน 37 ปี , วงกลมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 32 ปี  โดยเราคงมุมมองเชิงบวกธุรกิจที่ค่อนข้าง Defensive  พร้อมปรับประมาณการราคาเหมาะสมขึ้นเป็น 12.0 บาท/หุ้น จากการขยายสัมปทานทางด่วน 37 ปี จนถึงปี พ.ศ.2600 

ต่อสัมปทานครั้งนี้ ทุกฝ่าย Win  และสัมปทานที่ได้ดีกว่าที่ตลาดคาด
  เมื่อวานที่ผ่านมาบอร์การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เห็นชอบยุติข้อพิพาทคดีความระหว่าง กทพ. กับการขยายอายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ออกไป 37 ปี จนถึงปี 2600 ด้วยสัดส่วนรายได้เท่าเดิมที่ 40% (ดีกว่าที่ตลาดและเราคาดไว้ที่ 10-20ปี และสัดส่วนการแบ่งรายได้ลดลง) โดยลำดับถัดไปจะนำเรื่องเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอไปสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) , บอร์ด PPP และเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยเรามองว่าการต่อสัมปทานครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเคยเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายกันแล้วในอดีต และหากอิงกับวงเงินที่บริษัทฯฟ้องร้องกทพ.สูงกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท  (Note ไตรมาส 3) กับมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 3 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น 4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเหมาะสมและดูเป็นไปได้

ปี 2562/63 ปีที่รอคอยของ BEM , เข้าสู่ช่วง Growth stage อย่างเต็มตัว
  นอกเหนือจากประเด็นการต่อสัมปทานทางด่วนที่ส่งผลบวกต่อรายได้แล้ว ในปี 2562/63  ยังจะเป็นช่วงเวลาที่ดีของบริษัทที่รอคอยมานานกว่า 5 ปี นั่นคือการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย คาดจะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานเติบโตก้าวกระโดดที่ 40%  ภายหลังเปิดให้บริการครบวงกลมในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจทางด่วนกลายเป็นตัวสร้างเงินสด (Cash cow) ในขณะที่รถไฟฟ้าสร้าง Growth

----------------------------------------------------------------------------------

บล.โนมูระ พัฒนสิน

กทพ. อาจต่อสัญญาทางด่วน 37 ปี แลกยุติข้อพิพาท
 
      เรามีมุมมอง Positive ต่อประเด็นข่าวที่บอร์ด กทพ. มีแนวโน้มจะเสนอแนวทางการเจรจากับ BEM ในการต่อสัมปทานทางพิเศษที่จะหมดอายุ 28/2/20 และการลงทุนทำทางด่วนชั้นที่ 2 แลกกับการยุติข้อพิพาทกับ BEM ซึ่งเรามองว่าหากสุดท้าย กระทรวงคมนาคม สคร. คณะกรรมการ PPP และ ครม. เห็นชอบในแนวทาง จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ BEM และเป็นแนวโน้มที่ดีกว่าเดิมที่เคยมีข่าวจะต่อสัมปทาน 30 ปี โดยข้อมูลจากข่าวยังคงเน้นในเรื่องของส่วนแบ่งรัฐ : เอกชน ที่ 60 : 40 ทั้งนี้เรายังคงมุมมองที่ประเด็นดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นของ BEM จาก i) รายได้ทางด่วนใน 2020F จะมีความต่อเนื่อง (เรารวมไว้ในประมาณการแล้ว) Vs. ที่ตลาดคาดว่าจะหายไป และ ii) มี upside จากการได้ต่อสัมปทาน และโอกาสได้โครงการเพิ่ม (เรามองสามารถคาดหวัง upside เบื้องต้นต่อ TP19F ได้ราว 1.80 – 4.50 บาท/หุ้น อ้างอิงจากบริษัทมีคดีฟ้องร้องค่าเสียหายกับกทพ. รวมราว 28,180 ล้านบาท หากคิดเป็นต่อหุ้นจะอยู่ที่ราว 1.8 บาท/หุ้น ที่น่าจะเป็นขั้นต่ำที่บริษัทใช้อ้างอิง และ upside ที่เราประเมินจาการต่อสัมปทาน37 ปี ที่ส่วนแบ่งรายได้ กทพ. : BEM ที่ราว 60:40 มีการลงทุนทางด่วนชั้นที่ 2 โดยทางด่วนชั้นที่ 2 เพิ่ม toll traffic โดยรวมราว 20% GPM ที่ระดับราว 40% โดยแบ่งค่าทางด่วน 60 : 40 เช่นกัน) อย่างไรก็ตาม upside จากกการต่อสัมปทานยังมีความเสี่ยงเนื่องจากอาจถูกปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแนวทางจากที่ประชุมคมนาคม สคร. PPP หรือ ครม. ได้ 
   
      (สัมปทาน รฟฟ. สายสีส้ม และสีม่วงใต้เพิ่ม คาดความคืบหน้าของโครงการข้างต้นจะอยู่ในช่วง 4Q18F – 1Q19F) โดยระหว่างนี้เรายังคงมุมมองที่บริษัทมีแนวโน้มธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องในช่วง 2018-20F จากการปรับค่าโดยสาร ทยอยเปิดเดินรถ BLX และ ridership ส่งต่อจากสายสีม่วงเหนือที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สำหรับผู้ไม่มีหุ้นและต้องการซื้อเก็งกำไรบน upside ความเสี่ยงสำคัญคือความล่าช้าหรือ รายละเอียดผิดไปจากคาด ที่อาจส่งผลต่อความผิดหวังและกดดันราคาหุ้นได้

 

 


s


คุณต้องสมัครสมาชิก ถึงจะโพสกระทู้ได้

สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ