พิมพ์

รวบรวม (ศัพท์หุ้น) ศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เกี่ยวกับหุ้น

โพสต์เมื่อ: วันอังคาร 21 ตุลาคม 2557  20:19 น.

forex  =  อัตราแลกเปลี่ยน
tfex    =  ตลาดอนุพันธ์   =  ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
Bond  =  บอนด์  =  พันธบัตร
fundflow =  กระแสการไหลของเงินทุน เงินไหลเข้าไหลออก


อัพเพอร์ฟอร์ม  =
upside  =   อัพไซต์  คือส่วนต่างจากราคาปัจจุบันกับมูลค่าครับ คือถ้ามูลค่ามีค่ามากกว่าราคาปัจจุบัน เค้าก็เรียกว่า upside เช่นราคาหุ้น XYZ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาท แต่ผู้วิเคาระห์บอกว่ามูลค่ามันควรจะเป็น 15 บาท นั่นก็คือว่าหุ้น XYZ มี upside อีก 50%

downside   =   ดาวน์ไซต์

GDP =  ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ  จีดีพี คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศนี้โดยไม่จำกัดสัญชาติ ทรัพย์สมบัติ สิ่งปลูกสร้าง สินค้า เครื่องจักร โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งหมดที่เป็นสิ่งของที่อยู่ในประเทศไทย คือ จีดีพี
จีดีพี โตขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ คือ มีสิ่งของมีค่าในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เรานับเพิ่มได้ 6 จาก 100


Yield Curve ยิวเคิฟ คือ เส้นอัตราผลตอบแทน คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนกับอายุคงเหลือ (Time to maturity) ของตราสารหนี้ แต่ละจุดบน Yield curve จะบอกให้เราทราบว่า อัตราผลตอบแทน หรือ Yield ที่ตลาดต้องการสำหรับตราสารหนี้แต่ละช่วงอายุเป็นเท่าไร โดยปกติเราจะใช้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ ช่วงอายุต่างๆ มาสร้างเป็น เส้นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ ที่เรียกว่า Risk-free yield curve ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้คำนวณอัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่างๆได้       

ลำไย = กำไร
ซื้อควาย = ซื้อตอนมันกำลังลง
ขายหมู = ขายแล้ววราคาวิ่งต่อไม่เห็นฝุ่น
ปู่ = ตลาด SET
ตกรถ = ราคาวิ่งขึ้นไปเยอะแล้ว ซื้อไม่ทัน
ขึ้นรถ = ถึงรอบที่จะซื้อแล้วราคาเตรียมวิ่งขึ้น
ติดดอย = ซื้อแพงต้นทุนสูง ขายไม่ได้เพราะสภาพอากาศบนดอยติดลบ
หลุดดอย = ราคาวิ่งขึ้นจนกำไรเป็นบวก ขายออกมาได้ เป็นอิสระจากการจองจำขาดทุน
เคาะ = การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย
Bid = ตั้งซื้อ
Offer = ตั้งขาย
กำแพงหนา = ปริมาณ Volume มาก
เขื่อนแตก = Volume บางกว่าอีกฝั่ง (ซ้าย-ขวา) ทำให้ราคาทะลุ
ลาก = การซื้อดันราคาให้สูง
ทุบ = การเทขายจนราคาร่วงต่ำ
จ้าว = นักลงทุนรายใหญ่
หรั่ง = นักลงทุนต่างชาติ
ปอป = กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์
เม่า = นักลงทุนรายย่อย
แก็ง 4 โมง = นอมินี มือที่มองไม่เห็น แต่ทุบตรงเวลา
กระสุน = เงินที่เหลือในบัญชีโบรก ที่ยังสามารถซื้อได้
ปอด = พอร์ตโฟลิโอ
เต็มปอด = มีเงินเท่าไหร่ ซื้อหุ้นเต็มโควต้า
ล้างปอด = เทขายหุ้นตัวเองจนพอร์ตโฟลิโอโล่งไม่เหลือแม้แต่บาทเดียว
พวกวีไอ = กลุ่มคนที่เน้นการประเมินมูลค่าของธุรกิจเป็นหลัก
พวกเทคนิค = กลุ่มคนที่เน้นการใช้เครื่องมือความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์ในการหาจังหวะ ซื้อ-ขาย เป็นหลัก
หุ้นปั่น = หุ้นที่จ้าวสิงอยู่ ควบคุมและทำราคา
หุ้นพื้นฐาน = หุ้นที่ธุรกิจแข็งแกร่ง
ติดคุก = หุ้นที่ กลต. ประกาศออกมาติด Cash Balance
ตลก. = การแซวของรายย่อยกับชื่อของ กลต.
ปลั๊กหลุด = การหยุดการซื้อขายระหว่างวันไปดื้อๆ ทั้งตลาด
บักโกรก = ขาดทุนบรรลัย
โกย = เป็นการรีบเทขายหุ้นที่ถืออยู่ เกิด Panic ในตลาด
ต้มกบ = การล่อซื้อให้ตายใจ เมื่อโดดเข้าหม้อแล้ว ค่อยๆ เร่งไฟ ตายคาหม้อ เพื่อสูบเอากำไรจากรายย่อย
เด้ง = กำไร 100%
ลิ่ง = ราคาหุ้นตัวนั้นๆ พุ่งสูงสุดเท่าที่เคยทำมา
ฟลอร์ = ราคาหุ้นตัวนั้นๆ ดิ่งลงสุดเท่าที่เคยทำมา
ไม้ = การนับครั้งในการซื้อหุ้นตัวนั้นๆ
เทิร์นลาว (Turn around) = หุ้นที่ราคาดิ่งอยู่แล้ววกกลับขึ้นมา (จุดเปลี่ยนของชีวิต)
เห็บฉลาม = นั่งรถคันเดียวกันกับรายใหญ่ และรายใหญ่เตรียมลากราคาขึ้น
ปอดแดง = พอร์ตขาดทุน
ปอดเขียว = พอร์ตกำไร
ปอดแหก = พอร์ตขาดทุนหนัก
จบรอบ  =  หมายถึงหุ้นที่มีราคาขึ้นมาจนสูงแล้ว ปรับตัวลงเป็นการจบรอบคือรายใหญ่ขายหุ้นไปจนหมดแล้วจะไม่มีข่าวอะไรให้ตื่นเต้นอีก
วงใน =  Insider ข้อมูลที่ยังไม่ปรากฎต่อสาธารณะ คนที่รู้ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่าพวกวงใน มักจะอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือเป็น ญาติ



--- ชื่อหุ้น ---
ไก่ = CPF
อาม่า = ASIMAR
น้าแอ็ด = ADVANCE
ปู = BANPU
หนังโป๊ = AAV
ขุนอิน = INTUCH
พี่ปอ = PTT
พี่เทพ = PTTEP
แขก = IVL
อ่าว = BAY
น้องมิ้น = MINT
ทหาร = TMB
ดีแตก = DTAC
อาเจ๊ = AJ
ผีทะเล = PTL
ผี-ผี-ผี = PPP
แป๊ะ = PAE
อนันดอย = ANAN
น้องจุ๋ม = JMT
เตาเผาเม่า = AKP
ป้าจิ๊ก = NWR
รถแจ๊ส = JAS (ผมเรียกว่า น้องมะลิ เพราะมันย่อมาจาก jasmine)
มดเอ๊กซ์ = MDX
ยูโธเปีย = UTP
น้องพี = Pf
พรมวิเศษ = TCMC
เบาะผ้า = CWT
เบาะหนัง = IHL
บ้านทรายทอง = Gold
เอ็นปลวก = N-park
แร่ด = RATCH (อันนี้ตั้งเอง)
สัด = SAT (อันนี้ตั้งเอง)
ดีแตก = DTAC
อาเจ๊ = AJ
ผีทะเล = PTL
ผี-ผี-ผี = PPP
แป๊ะ = PAE
อนันดอย = ANAN
น้องจุ๋ม = JMT
เตาเผาเม่า = AKP
 
[ ความเห็นที่ 1]
ศัพท์/ชื่อย่อ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มเล่นหุ้น
 
1. นักลงทุนแนว VI (Value Investment) คือนักลงทุนที่สนใจแต่หุ้นพื้นฐานดีเท่านั้น นักลงทุนประเภทนี้จะเข้าไปซื้อหุ้นที่เขาประเมินแล้วว่ามีพื้นฐานดี โดยจะเข้าซื้อในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือราคาหุ้นตัวนั้นๆตกไม่ว่าจะด้วยเหตุใด และจะถือครองเป็นเวลานาน ไม่เน้นกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ
 
2. นักลงทุนแนว Technical คือ นักลงทุนที่ใช้กราฟหรือเทคนิคต่างๆเข้าช่วยในการตัดสินใจซื้อหุ้น นักลงทุนประเภทนี้จะอาศัยกราฟเพื่อดูรอบขึ้น-ลงของหุ้นและจะเข้าทำการซื้อ-ขายเป็นรอบสั้นๆ โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าหุ้นตัวนั้นยังมี Gapของราคาให้เล่นอยู่ (ซื้อแพง ขายแพงกว่า)
 
3. Commodity สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำ, น้ำมัน, ข้าว, แป้ง, อาหารสัตว์, สังกะสีและเหล็ก......สินค้าโภคภัณฑ์จะมีคุณภาพที่คล้ายกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นผู้ผลิต และมีการซื้อขายกันทั่วโลกราคาเดียว โดยราคาซื้อขายจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานของสินค้าในช่วงนั้นๆ เช่น ของขาดตลาดและมีความต้องการใช้ ราคาก็จะแพงเป็นต้น
 
4. Fundamental พื้นฐาน, รากฐานของหุ้น (นักลงทุนแนว VI ต้องใช้ในการวิเคราะห์)
 
5. Dividend เงินปันผล (นักลงทุนแนว VI จะสนใจในส่วนนี้)
 
6. Capital gain กำไรส่วนต่างของราคาในการขายหลักทรัพย์ (นักลงทุนแนว Technical จะเล็งในส่วนนี้)
 
7. Yield ผลตอบแทน(ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย)
 
8. Indicator ตัวชี้วัด...เป็นส่วนประกอบในChart แสดงออกมาในรูปกราฟเพื่อบอกถึง Trendของหุ้นตัวนั้นๆ เช่น MACD, RSI
 
9. Divergence สัญญาณกลับตัวในทิศทางตรงกันข้ามของหุ้น
 
10. Uptrend หุ้นในช่วงขาขึ้น
 
11. Downtrend หุ้นในช่วงขาลง
 
12. Sideways เป็นช่วงที่กราฟหุ้นวิ่งออกข้าง เคลื่อนไหวไม่ชัดเจนว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง
 
13. MACD = Moving Average Convegence Divergence เส้นบอกจุดที่ควรซื้อขายหุ้น โดยให้ใช้ประกอบกับเส้น EMA หรือสามารถดูจังหวะการเข้าซื้อ-ขายจากChartของMACDเอง
 
14. EMA = Exponential Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาหุ้น โดยสามารถเลือกเป็นรอบๆ เช่น EMA25 คือ ค่าเฉลี่ยของราคาในรอบ 25วันที่ผ่านมา
 
15. RSI = Relative Strength Index...เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ใช้ในการดูการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น
-ถ้าเกิน 70ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over bought หรือ ซื้อกันมากเกินไป เมื่อซื้อกันมากเกินก็แสดงว่าราคาสูงไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเริ่มตกลง (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)
-ถ้าต่ำกว่า 30ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over sold หรือ ขายกันมากเกินไป ซึ่งแสดงว่าราคาหุ้นถูกจนเกือบต่ำสุด ต่อจากนี้ราคาก็จะเริ่มขึ้น ให้เตรียมตัวซื้อ (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)
* * * * * ปล. บางตำราบอกไว้ว่า “การซื้อขายโดยการใช้ RSI ตัดกับ 30,70 หรือ 20,80 จริงๆไม่สมควรเท่าไหร่ เพราะในระยะยาวโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไร จริงๆแล้วให้จับตามองว่าหุ้นมีโอกาสกลับตัวเกิด Top หรือ Bottom แต่ไม่ใช่จุดซื้อขาย เพราะเวลาหุ้น Bullish RSI จะวิ่งเหนือ 70 ได้นานๆ หรือเวลา Bearish ก็ลงมาวิ่งต่ำกว่า 30 ได้นานๆเช่นกัน (หมายถึงให้ถือ holdไว้ก่อน รอดูว่าเมื่อเกิดจุดกลับตัวของราคาหุ้นแล้วค่อยซื้อ-ขาย)”
 
16. ค่า P/E ....ในที่นี้ P = Price E = Earnings per share (ราคา/กำไรต่อหุ้นตัวนั้น) ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาแพงหรือถูก ในอีกทางหนึ่งก็จะทำให้รู้ว่าต้องถือไว้อีกกี่ปีถึงคุ้มทุน
เช่น หุ้น ก.ราคา 100บ. กำไรต่อหุ้น 20บ./ปี => 100/20 = 5 เท่า
หุ้น ข.ราคา 40บ.(ถูกกว่า) แต่กำไรต่อหุ้นเพียง 2บ./ปี => 40/2 = 20 เท่า
**แสดงให้เห็นว่าในที่นี้ หุ้น ข. ถือว่าซื้อมาแพงกว่า และหุ้น ก. สามารถได้ทุนคืนเร็วกว่าด้วย
 
17. ค่า P/BV....Price / Book Value “มูลค่าทางบัญชี”.....(ราคา/เงินทุนที่บริษัทใส่ลงไป)
เช่น หุ้นราคา 100 / เงินลงทุนที่ใส่ลงไป 200 => 100/200 = 0.50 เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราซื้อหุ้นในขณะนั้นที่ราคา 100บ. (ค่า P/BV =0.50) เหมือนเราลงทุนถูกกว่าเจ้าของ 50สตางค์ ต่อหุ้น
 

[ ความเห็นที่ 2]
   
อักษร A
Acquisition of Asset การได้มาซึ่งสินทรัพย์
Agency Problem ปัญหาจากตัวแทน
AIMC : Association of Investment Management Companies สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Amortizing Bond หุ้นกู้ชนิดทยอยคืนเงินต้น
Annualized การปรับตัวเลขให้เต็มปี
AOM : Automatic Order Matching การจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ
Arbitrage การทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาด
Arbitration อนุญาโตตุลาการ
ASCO : Association of Securities Companies สมาคมบริษัทหลักทรัพย์
ASSET : Automated System For
The Stock Exchange Of Thailand ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ATC : At the Close คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาปิดตลาด
ATO : At the Open คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาเปิดตลาด
ATOMS : Automated Tools for Market Survellence ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับตรวจสอบการซื้อขาย
Audit Committee คณะอนุกรรมการตรวจสอบ

อักษร B
Backdoor Listing การจดทะเบียนโดยอ้อม
BATHNET : Bank of Thailand Automated
High-value Transfer Network ระบบบาทเนท
Bear Market ตลาดหมี
BEX : Bond Electronic Exchange ตลาดตราสารหนี้
BID ราคาเสนอซื้อ
Big Lot การซื้อขายรายใหญ่
Big - Lot Board กระดานซื้อขายรายใหญ่
Blue Chip Stock หุ้นบริษัทชั้นดี
Board Lot หน่วยการซื้อขาย
Bond พันธบัตรหรือหุ้นกู้
Bondnet ระบบซื้อขายในระบบรองตราสารหนี้
Book Value มูลค่าตามบัญชี
BOT : Bank of Thailand ธนาคารแห่งประเทศไทย
Broker นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
Bull Market ตลาดกระทิง
Buy - In รายการซื้อเพื่อส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัด

อักษร C
Call market การจับคู่ซื้อขายในคราวเดียวกัน
Capital Gain กำไรจากการขายหลักทรัพย์
Capital Market ตลาดทุน
Cash Account บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด
Ceiling & Floor ราคาเสนอซื้อ / เสนอขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์
Circuit Breaker เซอร์กิตเบรกเกอร์
Clearing and Settlement การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
Closed - End Fund กองทุนปิด
Closing Price ราคาปิด
Commission ค่านายหน้า
Common Stock หุ้นสามัญ
Conflict of Interest ผลประโยชน์ทับซ้อน
Convertible Debenture หุ้นกู้แปลงสภาพ
Corporate Governance การกำกับดูแลกิจการ
Coupon Rate อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
Covenants ข้อสัญญา
CRA : Credit Rating Agency สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
Credit Balance ระบบเครดิตบาลานซ์
Customer Type การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามประเภทผู้ลงทุน

อักษร D
Debenture หุ้นกู้
Derivatives ตราสารอนุพันธ์
Delisting การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
Disclosure การเปิดเผยข้อมูล
Dividend เงินปันผล
Dividend Yield อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
DR : Depository Receipts ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
DW : Derivative Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

อักษร E
EBITDA : Earnings Before Interest, Taxes, Depreciation And Amortization กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
EPS : Earning Per Share กำไรสุทธิต่อหุ้น
Equity Fund กองทุนตราสารทุน
ETF : Equity Exchange Traded Fund กองทุนรวม ETF

อักษร F
Financial Advisor ที่ปรึกษาทางการเงิน
Forced Sell การบังคับขาย
Foreign Available จำนวนหุ้นต่างด้าวคงเหลือ
Foreign Board กระดานต่างประเทศ
Foreign Limit ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว
Foreign Limit For Exercise ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าวสำหรับการแปลงสภาพ
Foreign Queue จำนวนหุ้นที่รอการโอน
Free Float การกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย
Fundamental Analysis การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน
Futures สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส

อักษร G
Gearing Ratio เกียร์ริ่ง
Goodwill ค่าความนิยม
Greenmail การขู่กรรโชกโดยอำพรางการเข้าครอบงำกิจการ
Greenshoe Option การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน

อักษร H
H : Halt เครื่องหมาย "H"

อักษร I
Insider Trading การซื้อขายหลักทรัพย์โดยบุคคลภายใน
Internet Trading การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต

อักษร L
Listed Companies บริษัทจดทะเบียน

อักษร M
mai : Market for Alternative Investment ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ
Main Board กระดานหลัก
Manipulation การปั่นหุ้น
Margin Account บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์โดยวางหลักประกัน
Market Capitalization มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด
Market Maker ผู้สร้างสภาพคล่อง
Market Price ราคาตลาด

อักษร N
NAV : Net Asset Value มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
NC : Non - Compliance เครื่องหมายเอ็นซี “NC”
Net Settlement การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ
NP : Notice Pending เครื่องหมายเอ็นพี “NP”
NPG : Non Performing Group กลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด
NR : Notice Received เครื่องหมายเอ็นอาร์ “NR”
NVDR : Non - Voting Depository Receipt ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย

อักษร O
Odd Lot หน่วยย่อย
Offer ราคาเสนอขาย
Open - End Fund กองทุนเปิด
Opening Price ราคาเปิด
Options ออปชั่น

อักษร P
Par Value (Face Value) มูลค่าที่ตราไว้
P/BV Ratio อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี
P/E Ratio อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ
PO : Public Offering การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน
Portfolio กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน
Preferred Stock หุ้นบุริมสิทธิ
Price Spread ช่วงราคา
Prospectus หนังสือชี้ชวน
PT : Put - Through วิธีซื้อขายแบบแจ้งรายการเข้าสู่ระบบ

อักษร R
Rights สิทธิ์จองซื้อหุ้นออกใหม่

อักษร S
Scripless System ระบบไร้ใบหุ้น
Securitization การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
SET : The Stock Exchange of Thailand ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Set Index ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
SET50 Index ดัชนี SET50
SET50 Index Futures สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50
SET50 Index Options ออปชั่นที่อ้างอิงกับดัชนี SET50
Short Sell การขายชอร์ต
SIPF : Securities Investor Protection Fund กองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์
SP : Suspension เครื่องหมายเอสพี “SP”
ST : Stabilization เครื่องหมายเอสที "ST"
Stock Gainers จำนวหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาในทางบวก
Stock Index Futures สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหุ้น
Stock Index Options ออปชั่นที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหุ้น
Stock Losers จำนวนหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาในทางลบ
Stock Options ออปชั่นที่อ้างอิงกับหุ้นรายตัว
Stock Price Index ดัชนีราคาหลักทรัพย์
- SET Index ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
- SET50 Index ดัชนีเซท 50
- SET100 Index ดัชนีเซท 100
- mai Index ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
- Industry - Group Index ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรม
- Sectoral Index ดัชนีหมวดธุรกิจ
Stock Unchanged จำนวนหุ้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา

อักษร T
Takeover การครอบงำกิจการ
Technical Analysis การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค
Tender Offer การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป
Trading Sign การขึ้นเครื่องหมาย
Treasury Stock หุ้นทุนซื้อคืน (หุ้นคงคลัง)
TSR : Transferable Subscription Rights ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ที่โอนสิทธิได้
Turnover Ratio อัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย

อักษร U
Underwriter ผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์
Unit Trust หน่วยลงทุน

อักษร W
Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์

อักษร X
XD, XR, XW, XS, XT, XI, XP, XA เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ
XE : Excluding Exercise เครื่องหมายการแสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น
 
[ ความเห็นที่ 3]

Global Play ก็พวกที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลกเป็นส่วนใหญ่อะ

Domestic Play ก็กิจการที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
[ ความเห็นที่ 4]
https://www.finnomena.com/j-saran/bank-financial-statements/
กลุ่มหุ้น non bank กับกลุ่ม bank
ที่ต้องดู
Loan growth การเติบโตของสินเชื่อใหม่
Loan Receivables สินเชื่อคงค้าง
NIM  (Net Interest Margin) ส่วนต่างระหว่าง ดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ กับ ดอกเบี้ยที่เราไปกู้มา
NPL (Non-Performing Loan) หนี้เสีย หรือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
Coverage Ratio สัดส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญ
อัตราดอกเบี้ย : ต้นทุนการเงิน

Credit cost หรือต้นทุนความเสี่ยงของสินเชื่อที่ไม่ได้รับการชาระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย คำนวณจากค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม 
PPOP กำไรก่อนตั้งสำรอง (ใช้กับหุ้นกลุ่มสินเชื่อ)

Yield ดอกเบี้ยที่เราปล่อยกู้ หรือดอกเบี้ยรับ
Funding cost ดอกเบี้ยที่เราไปกู้มา หรือดอกเบี้ยจ่าย
Spread  ส่วนต่างระหว่าง ดอกเบี้ยรับ กับ ดอกเบี้ยจ่าย

Cost to Income Ratio (CI) คือค่าใช้จากในการดำเนินงานเทียบกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิรวมกับรายได้อื่นที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ
Expected Credit loss(ECL) คือ การกันสำรองตามมาตรฐานใหม่ ซึ่งเงินสำรองนี้ต้องครอบคลุมถึงความเสียหาย ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต
พิจารณาจาก อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยใช้แบบจำลองในการประมาณ

[ ความเห็นที่ 5]
รายได้ดอกเบี้ย คือ เช่าซื้อ
รายได้ค่าธรรมเนียมคือ จำนำทะเบียน